โรคอะนอเร็กเซีย (Anorexia Nervosa) เป็นโรคทางจิตเวชในกลุ่มของ ‘Eating Disorder’ หรือพฤติกรรมการรับประทานอาหารผิดปกติ โดยโรคนี้ถูกเรียกขานแบบสั้น ๆ และเข้าใจง่ายว่า ‘โรคคลั่งผอม’ ที่หลายคนอาจเคยได้ยินผ่านหูกันมาบ้างแล้ว
อาการของโรค
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ส่วนใหญ่ จะไม่เข้าใจว่าภาวะที่ตนเองกำลังประสบอยู่นั้นเป็นอาการเจ็บป่วย ไม่สนใจถึงผลกระทบที่จะตามมา และมักจะแยกตัวออกจากสังคม รวมถึงมีความเชื่อผิด ๆ ที่ว่า ‘ยิ่งผอม ยิ่งดี’
ยิ่งผอมมากเท่าไหร่ ยิ่งประสบความสำเร็จเท่านั้น
- ลดปริมาณอาหาร หรือพยายามกำจัดอาการที่รับประทานเข้าไปออก
ผู้ป่วยโรคนี้ จะพยายามลดน้ำหนักโดยการ ลดปริมาณอาหารที่รับประทาน หรือมีลักษณะการรับประทานที่ผิดปกติ คือ รับประทานเข้าไปในปริมาณมากแล้วพยายามกำจัดออก เพื่อไม่ให้ตนเองอ้วน
- ปฏิเสธอาหาร
ความรู้สึกกลัวอ้วน หรือกลัวน้ำหนักขึ้น จะทำให้ผู้ป่วยปฏิเสธอาหาร แม้จะมีความรู้สึกหิวอยู่ก็ตาม และพวกเขาจะพยายามลดน้ำหนักโดยไม่ให้ใครรู้ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ผู้ป่วยมักจะปฏิเสธที่จะรับประทานอาหารร่วมกับคนในครอบครัว หรือในที่สาธารณะ
- น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
ในผู้ป่วยวัยรุ่นของโรคนี้ อาจจะไม่มีประวัติของน้ำหนักที่ลดลงอย่างชัดเจน แต่จะมีปัญหา ‘น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์’ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากการจำกัดอาหารอย่างเข้มงวด และการออกกำลังกายอย่างหนัก จนนำไปสู่การมีรูปร่างที่ซูบผอม และพัฒนาการทางด้านร่างกายไม่สมวัย เช่น การไม่มีประจำเดือน เป็นต้น
- นำอาหารไปซ่อน
ผู้ป่วยอาจนำอาหารไปซ่อนตามที่ต่าง ๆ ในบ้าน ตัดแบ่งเนื้อสัตว์เป็นชิ้นเล็ก หรือใช้เวลาในการรับประทานอาหารในจานนาน
- มีความคิดที่ว่า ‘ฉันจะต้องสมบูรณ์แบบ’
ลักษณะนิสัยที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคนี้ คือ Regid Perfectionist หรือต้องการความสมบูรณ์แบบ ในลักษณะไม่ยืดหยุ่น กล่าวคือ ผู้ป่วยคิดจะทำอย่างไรก็จะทำอย่างนั้นเท่านั้น จะไม่เปลี่ยน หรือฟังความคิดเห็นใคร ซึ่งเมื่อพยายามทำเช่นนี้แล้ว อาจจะขัดกับระบบของร่างกาย จนกระทั่งเกิดอาการเจ็บป่วยทางร่างกาย (Somatic Complaints) โดยเฉพาะอาการท้องอืด
สาเหตุของโรค
การศึกษาถึงสาเหตุของโรคนี้ยังไม่แน่ชัด แต่อาจเกิดได้จากหลากหลายปัจจัยเสี่ยง เช่นเดียวกับโรคอื่น ๆ ในหมวด Eating Disorder ดังนี้
- สมาชิกในครอบครัว มีประวัติการป่วยเป็นโรคในกลุ่ม Eating Disorder ,โรคซึมเศร้า หรือติดสารเสพติด และเหล้า
- เป็นผู้ที่ถูกตำหนิเรื่องรูปร่าง น้ำหนัก หรือลักษณะนิสัยการรับประทานอาหารเป็นประจำ
- เป็นผู้ที่กังวลว่าผู้อื่นจะคิดอย่างไรกับตนเองถ้าหากตนเองไม่มีรูปร่างผอม ซึ่งอาจจะเกิดจากความกดดันจากสังคม หรือหน้าที่การงาน เช่น นางแบบ นักกีฬา หรือนักบัลเลต์ เป็นต้น
- เป็นผู้มีความกังวลสูง และมีความเชื่อมั่นในตัวเองต่ำ รวมถึงผู้ที่เป็น Perfectionist
- เป็นผู้ที่เคยถูกทารุณกรรม หรือถูกคุกคามทางเพศ
อย่างไรก็ตาม โรคนี้อาจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย แม้จะไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ก็ตาม ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลพบว่า ผู้ป่วยมักเป็น ‘วัยรุ่นเด็กดี เด็กตัวอย่าง’ ของครอบครัว ที่มีบุคลิกภาพที่สมบูรณ์แบบ ย้ำคิดย้ำทำ ขาดทักษะในการใช้ชีวิตในสังคม มีปัญหาความขัดแย้งในจิตใจเรื่องความเป็นตัวของตัวเอง รู้สึกไม่มีค่า และมักทำตามความคาดหวังของผู้อื่น เพื่อให้ผู้อื่นยอมรับ
การรักษา
การตรวจวินิจฉัยโรคอะนอเร็กเซีย อาจใช้หลายวิธีร่วมกัน เช่น การสอบถามอาการ การตรวจสุขภาพเบื้องต้น และการตรวจเลือดร่วมด้วย เป็นต้น
ในปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคนี้ได้โดยตรง แต่การรักษาจะเป็นไปในทิศทางเดียวกับโรคในกลุ่ม Eating Disorder อื่น ๆ คือเริ่มจากการปรึกษาจิตแพทย์ และเริ่มดำเนินการรักษาต่อ ซึ่งมีแนวทางหลัก ดังนี้
- ให้การฟื้นฟูด้านสารอาหาร และรักษาภาวะทางกายที่เกิดตามมาจากการขาดอาหาร
- ให้คําปรึกษาด้านโภชนาการ เพื่อให้ผู้ป่วยกลับไปมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ปลอดภัย
- ทําจิตบําบัดส่วนบุคคล เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยแก้ไขความคิดที่ผิดปกติและเสริมสร้างความมั่นใจ
- ทําจิตบําบัดแบบกลุ่ม
- ทําจิตบําบัดครอบครัว หรือให้คําปรึกษากับพ่อแม่ผู้ปกครองของผู้ป่วย
นอกจากนี้ อาจต้องรักษาอาการแทรกซ้อนอื่นที่เกิดขึ้น เช่น อาการซึมเศร้า ความวิตกกังวลร่วมด้วย โดยเน้นการสร้างแรงบันดาลใจ โดยการใช้ ‘motivational enhancement intervention’ หรือการเพิ่มแรงบันดาลใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อป้องกันการหยุดรักษากลางคัน
ผลกระทบของโรค
- เกิดปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ และกระดูก โดยเฉพาะหากเกิดขึ้นในเด็ก อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตไปตลอดชีวิต
- เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ โดยเฉพาะในเพศหญิง ทำให้อาจสูญเสียความสามารถในการมีบุตรได้
- เกิดการสูญเสียอารมณ์ทางเพศ
- เกิดปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ และเส้นเลือด เช่น การไหลเวียนของโลหิตที่ไม่ดี หรือความดันหัวใจล้มเหลว เป็นต้น
- เกิดปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของสมอง และ ระบบประสาท
- เกิดปัญหาเกี่ยวกับไต และการขับของเสียออกจากร่างกาย
- เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน
จะเห็นได้ว่า โรคอะนอเร็กเซีย เป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย และจิตใจของเราหลายด้าน ซึ่งการหากผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกวิธี และรวดเร็ว อาการป่วยก็สามารถรักษาให้หายขาดได้
ดังนั้น หากพบว่าตนเอง หรือคนใกล้ชิดมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ ควรปรึกษาแพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อไม่ให้กระทบต่อร่างกายในระยะยาว
และถ้าหากใครยังหวาดกลัวว่าตัวเลขน้ำหนักจะเพิ่มขึ้น ก็สามารถลดความกังวลได้โดยเริ่มจากการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และไม่ทำให้อ้วน อย่างการเลือกรับประทาน ‘น้องหนมปัง’ คีโตเฟรนลี่ ไม่มีแป้ง ไม่มีน้ำตาล จาก Dancing with a Baker ที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์หลายชนิด รับรองว่าทานแล้วไม่รู้สึกผิด แถมไม่ทำให้อ้วนแน่นอนค่ะ
ที่มา
https://med.mahidol.ac.th/ramamental/sites/default/files/public/pdf/Anorexia%20Nervosa.pdf
https://www.nhs.uk/conditions/anorexia/
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1071594/