สารบัญวันนี้

‘จุลินทรีย์ในลำไส้’ สำคัญไฉน? ทำไมต้องมีในร่างกาย?

สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่ชื่อ ‘จุลินทรีย์’ เป็นสิ่งที่หลายคนอาจจะคุ้นหูคุ้นตากันมาบ้าง เจ้าจุลินทรีย์นี้ถูกผลิตขึ้นโดยธรรมชาติ มีทั้งประโยชน์ มีทั้งโทษ มีทั้งแบบที่ดี และแบบที่ไม่ดีต่อร่างกาย ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดถึง ‘จุลินทรีย์ในลำไส้’ ที่เป็นจุลินทรีย์ที่ช่วยในเรื่องของการขับถ่าย และอยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุดนั่นเอง

จุดกำเนิดของ ‘จุลินทรีย์ในลำไส้’

จุลินทรีย์ในลำไส้ เกิดขึ้นโดยธรรมชาติตามสภาพร่างกาย และสภาพแวดล้อมของแต่ละบุคคล ซึ่งประเภท และปริมาณของจุลินทรีย์ในลำไส้ เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะส่งผลต่อสุขภาพของเราไปได้ตลอดชีวิต ทั้งยังมีความสัมพันธ์กับโรคต่าง ๆ ได้ ทั้งโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ หรือโรคมะเร็ง เป็นต้น

ซึ่งปัจจัยในการกำหนดปริมาณ และประเภทของจุลินทรีย์ในลำไส้ มีดังนี้

  • วิธีการให้กำเนิด
  • ยา 
  • จำนวนพี่น้อง หรือสัตว์เลี้ยงในบ้าน
  • ลำดับการได้รับจุลินทรีย์ในลำไส้

จากงานวิจัย พบว่า เด็กที่มีวิธีการให้กำเนิดโดยการผ่าคลอด หรือเด็กที่ได้รับยาปฏิชีวนะในปริมาณมาก จะมีความเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นมากกว่าเด็กที่คลอดธรรมชาติ โดยเฉพาะเด็กที่ผ่าคลอดนั้นจะได้รับยาปฏิชีวะในปริมาณมาก ทำให้มีความเสี่ยงของการเกิดโรคเพิ่มขึ้นถึง 50% เลยทีเดียว

ความโชคดี คือ หากเด็กทารกขาดจุลินทรีย์ในร่างกายไป ‘การให้นมแม่’ จะเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้มีจุลินทรีย์เพิ่มขึ้นได้ เพราะในนมแม่มีสารอาหารที่เราไม่สามารถทำการย่อยได้ แต่จะเป็นอาหารให้กับจุลินทรีย์ได้ โดยในปัจจุบันนี้ อาหารของจุลินทรีย์บางชนิด สามารถสร้างขึ้นจากในห้องทดลอง เพื่อเสริมให้เด็กมีปริมาณจุลินทรีย์ที่ดีมากขึ้น และมีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น

อีกหนึ่งตัวแปรสำคัญ คือ ‘ลำดับการได้รับจุลินทรีย์ในลำไส้’ เพราะจุลินทรีย์บางชนิด ทำให้สภาพแวดล้อมของลำไส้ของเราเปลี่ยนไป และทำให้จุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ เข้ามาเติบโตได้ อย่างเด็กที่ถูกผ่าคลอดนั้นก็จะได้รับจุลินทรีย์ไม่กี่ชนิดจากผิวของแม่ แต่เด็กที่คลอดโดยธรรมชาติจะได้รับจุลินทรีย์ชนิดอื่น ๆ ด้วย 

ความสำคัญของ ‘จุลินทรีย์ในลำไส้’

ประเภท และปริมาณของจุลินทรีย์ สามารถบ่งชี้ถึงความเสี่ยงของการเกิดโรคได้มากมาย ทั้งยังเป็นตัวกำหนดระบบการทำงานภายในร่างกายของเราหลายอย่าง เช่น ระดับฮอร์โมน หรือปริมาณน้ำย่อยแต่ละชนิด นอกจากนี้ยังมีตัวแปรอื่น ๆ มาเกี่ยวข้องด้วย ทั้งเรื่องของการเพิ่มขึ้นของอายุ หรือรูปแบบของสารพันธุกรรม เป็นต้น

จากการศึกษาล่าสุดยังพบว่า จุลินทรีย์ในลำไส้ สามารถส่งผลต่อการควบคุมความไวของการตอบสนองของอินซูลิน และระบบการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ทั้งในสัตว์ และมนุษย์ที่เป็นเบาหวานอีกด้วย 

ยิ่งไปกว่านั้น จุลินทรีย์ในลำไส้ยังมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงอาหารการกิน และสรีรวิทยาและพยาธิสภาพในร่างกาย (host physiology and pathology) เนื่องจากภาวะความสมดุลของจุลินทรีย์นั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการบำรุงสุขภาพของลำไส้ และการปรับฟังก์ชันการทำงานของสมองนั่นเอง

การเพิ่มจุลินทรีย์ในลำไส้นั้นทำได้ไม่ยากมากนัก เริ่มจากการเลือกรับประทานอาหารที่มี ‘พรีไบโอติกส์’ ที่ช่วยกระตุ้น และเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ในลำไส้ได้ ตัวอย่างอาหารที่พบได้ง่าย เช่น กล้วย แอปเปิล หอมหัวใหญ่ และกระเทียม เป็นต้น 

ในครั้งหน้าเราจะรวบรวมข้อมูลเรื่องของจุลินทรีย์ และการรับประทานอาหารที่ช่วยเพิ่มปริมาณเจ้าจุลินทรีย์ให้ร่างกายแบบละเอียดยิบมาให้เพื่อน ๆ อีกแน่นอน อย่าลืมรอติดตามกันนะคะ : )

ที่มา :

https://www.nature.com/articles/s41467-020-14676-4?utm_source=facebook&utm_medium=social&utm_content=organic&utm_campaign=NGMT_USG_JC01_GL_NRJournals

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6574633/

Facebook
Twitter
LinkedIn
Reading with a Baker

Reading with a Baker

เรื่องอื่น ๆ ใด ๆ

Shopping Cart

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า