สารบัญวันนี้

เจาะลึกเรื่อง ‘อัลไซเมอร์’

ร่างกายของคนเรา เมื่อเติบโตและถูกใช้งานไปเรื่อย ๆ ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายก็มักจะต้องเสื่อมสภาพและแก่ตัวลงไป จนอาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพ และโรคภัยตามมา

‘โรคอัลไซเมอร์’ เป็นโรคยอดฮิตของกลุ่มผู้สูงอายุที่หลายคนจะต้องเคยได้ยิน หรือรู้จักกันในชื่อ ‘โรคความจำเสื่อม’ อยู่แล้วแน่นอน โดยโรคนี้จะเริ่มเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ขึ้นไป ซึ่งจากการสำรวจพบว่า ในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 65 ปี จะมีผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์อยู่จำนวน 1% หรือ 1 ใน 100 คนนั่นเอง

การเริ่มต้นของ ‘โรคอัลไซเมอร์’

โรคอัลไซเมอร์ จะเริ่มได้รับผลกระทบจากสมองส่วน Hippocampus ซึ่งเป็นส่วนในการควบคุมการตอบสนองของอารมณ์ และการรับข้อมูลใหม่เข้ามาในสมอง ทำให้ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะเริ่มมีอารมณ์ฉุนเฉียว โมโหง่าย และควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ รวมถึงจะจำเรื่องราวที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่ได้ เช่น จำอาหารที่ทานไปวันนี้ไม่ได้ หรือไม่รู้ว่าวันนี้ตนเองทานอาหารไปหรือยัง เป็นต้น แต่ในระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยจะยังสามารถจดจำเรื่องราวเก่า ๆ ได้อยู่ 

สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์

โรคอัลไซเมอร์ เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทและสมอง จากการที่เซลล์ประสาทถูกทำลายจนทำให้การทำงานของสมองลดลง สาเหตุที่เซลล์ประสาทในสมองตายลง ก็มาจากการที่ร่างกายผลิตพลังงานจากน้ำตาลได้ไม่ดี ทำให้เซลล์ประสาทได้รับพลังงานไม่เพียงพอ ซึ่งร่างกายของเราจะไม่สามารถสร้างเซลล์ประสาทเหล่านี้ขึ้นมาใหม่ได้อีกแล้ว 

ภาพเซลล์ประสาท

  • ‘สารบีตา แอมมิลอยด์’ ในเซลล์ประสาท

เซลล์ประสาทจะเชื่อมต่อกันไปเรื่อย ๆ โดยมี Axon เชื่อมกับ Dendrite ของอีกเซลล์หนึ่ง แต่จะมีช่องว่างเล็ก ๆ ที่มีสาร ‘บีตา แอมมิลอยด์’ (A????) ปะปนอยู่ แต่สารนี้จะถูกกำจัดออกไปโดยเอนไซม์ในร่างกาย โดยนักวิทยาศาสตร์หลายคนคิดว่า บีตา แอมมิลอยด์ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ เพราะเมื่ออายุมากขึ้น ความสามารถในการกำจัด บีตา แอมมิลอยด์ ของร่างกายก็จะค่อย ๆ ลดลง

อย่างไรก็ตาม นอกจากเรื่องของอายุ ที่จะส่งผลต่อความแก่ตัวของระบบต่าง ๆ ในร่างกายแล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ อีกมากมายที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ ทั้งการใช้ชีวิตของแต่ละคนทั้งในเรื่องของการนอน หรือการหลับลึกของร่างกาย ที่จะส่งผลให้ปริมาณของ บีตา แอมมิลอยด์ เพิ่มขึ้นได้ หรือการใช้งานสมองจนเกิดความเครียดมากเกินไป เป็นต้น

นอกจากนี้ อีกปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้สารบีตา แอมมิลอยด์ เพิ่มขึ้น คือยีนส์ในร่างกายที่มีชื่อว่า ‘apolipoprotein’ หรือ E (APOE) ดังตารางด้านล่าง

APOE  ทั้ง 3 รูปแบบ
APOE e2แทบไม่พบมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ 
APOE e3พบมากที่สุดไม่เพิ่มหรือลดความเสี่ยงของการเกิดอัลไซเมอร์
APOE e4พบเล็กน้อยเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์

ยีนส์ APOE e4 จะผลิตเอมไซม์ที่เปลี่ยนโปรตีนให้เป็นบีตา แอมมิลอยด์มากขึ้น ซึ่งทำใหไ้เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้มากขึ้นตาม

โรคอัลไซเมอร์สามารถป้องกันได้ เพียงต้องรู้จักรัก และหมั่นดูแลสุขภาพของตัวเองอยู่เสมอ ทั้งการทานอาหาร การพักผ่อน และการเลือกสิ่งดี ๆ ให้กับร่างกาย ล้วนส่งผลต่อร่างกายโดยตรง ดังนั้น อย่าลืมหันมาใส่ใจตัวเองกันด้วยนะ  🙂

ที่มา : 

https://www-ncbi-nlm-nih-gov.ezproxy.tulibs.net/pubmed/31982880

https://www-ncbi-nlm-nih-gov.ezproxy.tulibs.net/pubmed/31982903

https://alzheimer.ca/en/Home/About-dementia/Alzheimer-s-disease/Risk-factors

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4447057/

Facebook
Twitter
LinkedIn
Reading with a Baker

Reading with a Baker

เรื่องอื่น ๆ ใด ๆ

Shopping Cart

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า