มารู้จักการคีโตกันก่อน
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าการกินแบบคีโตหรือคีโตเจนิค (Ketogenic) กันก่อน การกินแบบคีโตคือการเลือกกินอาหารที่คาร์โบไฮเดรตต่ำ (Low-carb) โดยเลี่ยงการกินแป้งและกินน้ำตาล และเน้นการกินไขมันดีและโปรตีนเพื่อชดเชยสารอาหารและพลังงานที่ขาดหายไป สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
ปัจจัยเสี่ยงของโรคโควิด-19
โรคโควิด-19 เป็นโรคที่เกิดจากไวรัส SARS-CoV-19 ซึ่งอาการจะคล้ายกับโรคไข้หวัดปกติแต่จะมีความรุนแรงมากขึ้นขึ้นอยู่กับตัวของผู้ป่วย ซึ่งเมื่อร่างกายอ่อนแอหรือมีโรคประจำตัวอยู่ก่อนแล้วจะส่งผลให้เกิดการติดเชื้อและอาจทำให้เกิดอาการร้ายแรงที่ส่งผลถึงชีวิตได้ ทั้งนี้อาการของโรคที่สำคัญคือการมีเสมหะที่เหนียวข้นจนร่างกายไม่สามารถละลายหรือขับออกเองได้ เมื่อเสมหะที่ข้นเหนียวติดอยู่ในร่างกายอาจไปขวางอากาศที่เข้าสู่ปอดและทำให้ปอดเหี่ยวจนทำให้ปอดไม่สามารถใช้งานได้ในที่สุด
ในส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อ โรคโควิด-19 (Covid-19) นอกจากอายุของผู้ป่วยและโรคประจำตัวที่มีอยู่ร่วมด้วยแล้วนั้นภาวะโรคเบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง โรคอ้วนและโรคไตเรื้อรังก็เป็นปัจจัยที่ทำให้โรคดังกล่าวนั้นร้ายแรงขึ้น ประกอบกับการ lock down และการจำกัดการเคลื่อนย้ายของประชาชนทำให้คนอยู่บ้านมากขึ้นและมีการเคลื่อนไหวร่างกายหรือออกกำลังกายก็ส่งผลให้ให้ระดับการเผาผลาญ (metabolism) ต่ำลง และการออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายที่ลดลงทำให้สุขภาพโดยรวมแย่ขึ้น โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคอ้วนและเบาหวานอยู่แล้วนั้นมีโอกาสติดโรคโควิด-19 มากกว่าปกติ
โรคอ้วนและน้ำตาลในเลือดสูงผู้ร้ายประจำโควิด-19
โรคอ้วนเป็นหนึ่งในโรคที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการติดโรคโควิด-19 ในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย และผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีโรคอ้วนร่วมจะมีอาการหนักกว่าผู้ป่วยปกติเนื่องจากจะมีอาการของโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจอยู่ก่อนแล้ว เมื่อไม่สามารถหายใจได้ตามปกติจะส่งผลให้ระบบป้องกันโรคแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ร่วมกับความเสื่ยงที่เกิดจากโรคหัวใจ
นอกจากนั้นยังพบว่าผู้ที่มีโรคอ้วนร่วมกับภาวะไขมันพอกตับจะทำให้อาการของโรคโควิด-19 รุนแรงกว่าปกติถึง 6 เท่า โดยไม่ต้องพิจารณาถึงปัจจัยอื่น ๆ เช่น อายุ เพศ หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตร่วมด้วย
เหตุผลที่ทำให้เกิดความรุนแรงดังกล่าวสามารถอธิบายได้จากลักษณะของเชื้อไวรัสโควิด-19 เอง เพราะว่าลักษณะของโปรตีนตัวรับ อันได้แก่ dipeptidyl peptidase-4 (DPP4) และ angiotensin-converting enzyme 2 (ACE2) ที่ไว้รัสใช้เดินทางเป็นตัวส่งสัญญานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อไวรัสโควิด-19 เจอกับ ACE2 ก็จะนำเชื้อเข้าสู่ร่างกายซึ่งจะตรงไปหาปอด ตับ และหัวใจ
เมื่อเป็นโรคเบาหวานจะมี ACE2 สูงขึ้นและกระจายไปในปอด ตับและหัวใจ ทำให้ไวรัสโควิด-19 สามารถเข้าสู่ร่างกายและแพร่ไปส่วนต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้มีการศึกษาผู้ป่วยโควิด-19 กว่า 5,700 คนในเขตเมืองนิวยอร์คพบว่าผู้ป่วยที่มีโรคเบาหวานร่วมด้วยมีอาการที่เกี่ยวกับทางเดินอากาศหนักกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีโรคเบาหวานร่วมด้วย
จากการศึกษาเพิ่มเติมพบว่าการลดปริมาณกลูโคสในเลือดด้วยออกซิเจนลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสในร่างกาย
จึงสรุปได้ว่าภาวะน้ำตาลในเลือดสูงไม่ว่าจะโดยทางยาหรือทางอาหารจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดโรคและอาการของโรคที่รุนแรงจากโรคโควิด-19 ได้
กินคีโตสู้โควิด-19
เมื่อเราทราบแล้วว่าไวรัสโควิด-19 ใช้น้ำตาลในร่างกายเราเป็นตัวกระจายเชื้อจึงมีกลุ่มนักวิจัยได้เสนอการทดลองที่เปลี่ยนวิธีการกินจากการเน้นคาร์โบไฮเดรตซึ่งเมื่อย่อยแล้วจะกลายเป็นน้ำตาลไปเป็นการกินที่เน้นไขมันหรือกินแบบคีโตเพื่อให้ร่างกายสามารถป้องกันการติดเชื้อจากไวรัสโควิด-19 ได้
การกินคีโตอีกแบบที่ได้รับการกล่าวถึงคือ VLCKD หรือ Very Low Calorie Ketogenic Diet หรือการกินคีโตแบบแคลลอรี่ต่ำมากอาจเป็นหนึ่งในทางออกที่ดีสำหรับการปรับตัวเพื่อสู้กับไวรัสดังกล่าวนี้
คีโตเจนิคแบบแคลอรี่ต่ำมากจำกัดการกินคาร์โบไฮเดรตอยู่ที่ไม่เกินวันละ 30 กรัมและพลังงานต่อวันไม่เกิน 800 แคลอรี่ซึ่งนอกจากจะส่งผลให้สามารถลดน้ำหนักได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในผู้ที่อ้วนมาก ๆ แล้วนั้น ยังสามารถทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้น ความดันดีขึ้นและยังลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้ อีกทั้งยังสามารถลดอัตราการติดไวรัสได้อย่างดี
กินคีโตสู้โควิด-19 ได้จริงหรือ?
สุดท้ายแล้วเมื่อเราถามว่ากินคีโตสู้โควิดได้จริงหรือ? จากเอกสารและการศึกษาพบว่า ระดับพลาสมาคีโตนที่เพิ่มขึ้นจากการกินคีโตมีส่วนช่วยรักษาการอักเสบของร่างกายและมีส่วนยับยั้งการเจริญเติบโตและแพร่กระจายของไวรัสโควิด-19 ได้ ซึ่งอาจจะเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่ใช้จัดการกับไวรัสและโรคโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี
โดยการกินคีโตจะเป็นตัวแปรสำคัญที่ลดปัจจัยเสี่ยงของอาการรุนแรงที่เกิดจากโรคดังกล่าวได้ แต่อย่างไรก็ดีไม่ช่วยป้องกันไม่ให้ติดโรค การใช้หน้ากากอนามัย ล้างมือและรักษาระยะห่างยังเป็นวิธีที่ช่วยให้ป้องกันการติดโรคได้ดีที่สุด
เรียบเรียงจาก The dark side of the spoon – glucose, ketones and COVID-19: a possible role for ketogenic diet? ตีพิมพ์ในนิตยสาร Journal of Translational Medicine 18, Article number: 441 (2020) เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564