เรื่องราวของจ้าวแห่งเกล็ดสีขาวที่ช่วยชูรสชาติ หลายคนอาจมีคลังความรู้ความเข้าใจที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าแม้ผงชูรสจะมี ‘คุณ’ ที่ช่วยเสริมรสชาติที่อร่อย กลมกล่อม แต่ ‘โทษ’ อย่างรอบด้านที่ควรระมัดระวังก็มีอยู่ไม่น้อย ฉะนั้นแล้วหากคุณมีเป้าหมาย คือ การดูแลสุขภาพและรักษารูปร่างที่ดี การดูแลปริมาณของผงชูรสถือเป็นเรื่องที่สำคัญ
จากงานวิจัยในสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อปี ค.ศ.2002 ที่ทำการศึกษาจากผู้เข้าร่วมงานวิจัย เพศชาย 445 คน และเพศหญิง 611 คน ซึ่งมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีผงชูรสทั้งจากการปรุงอาหารทานเอง และจากผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปต่าง ๆ ผลของงานวิจัยออกมาได้ความว่าการทานผงชูรสในปริมาณสูงมีความสัมพันธ์กับภาวะน้ำตาลในเลือด ทั้งยังมีความเสี่ยงต่อการดื้ออินซูลิน โรคเบาหวานและเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคอ้วน
นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับปัจจัยอื่น ๆ หากรับผงชูรสเข้าสู่ร่างกายในมื้ออาหารเกือบทุกวันประกอบกับการไม่ออกกำลังกาย สูบบุหรี่ หรือทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตหรือไขมันสะสมบ่อยครั้ง จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อเมตาบอลิซึม (Metabolism) ที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งหมายความถึงปัญหาสุขภาพที่จะตามมาโดยจะส่งผลต่อระบบเผาผลาญร่างกายหรือน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น. .และอาจจะยิ่งขึ้นไปอีก
อย่างไรก็ดีวัตถุดิบสำคัญของการเพิ่มรสชาติที่ลงตัวและถูกปากจะให้ตัดขาดกันไปคงทรมานใจกันไม่น้อย ทั้งการเป็นเมืองแห่งสตรีตฟู้ดรสเลิศอีกยังรายล้อมไปด้วยอาหารที่หลากหลายหากพลาดโอกาสในการลิ้มลองหลายคนอาจเข้าสู่ภาวะโลกขุ่นหมองได้ ดังนั้นแล้วทางออกที่ดีที่สุดจึงอาจเป็นการ ‘ลด’ หรือ ‘จำกัด’ ให้คงอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม อาทิ บางมื้อ บางเวลาหุงหาอาหารรับประทานเอง เพื่อผ่านรสมือที่มั่นใจได้ว่าผงชูรสไม่มีอยู่ในซุปหรือแกงของเรา อาจจะช่วยลดความเสี่ยงต่อสุขภาพได้อยากมีความสุขไม่มากก็น้อย
แหล่งอ้างอิงข้อมูล : https://nutritionandmetabolism.biomedcentral.com/articles/10.1186/1743-7