รู้หรือไม่ ? แท้จริงแล้วสมองเราอาจจะเป็นส่วนที่หิวแทนกระเพาะเราก็ได้. . .
อันเนื่องมาจากงานวิจัยพบว่า คนเรามี 3 สิ่งหลัก ๆ ที่ควบคุมความอยากอาหาร ซึ่งทั้งหมดนั้นล้วน
เกิดขึ้นจากภายในสมองของเราทั้งสิ้น คือ
ส่วนแรก (1) โปรตีน Agouti-related (AGRP) ในสมองส่วน ไฮโพทาลามัส ระบบประสาทส่วนนี้จะรับรู้ถึงการทานอาหารของคนเรา และสามารถส่งสัญญาณให้เรารู้สึกไม่ดีได้หากว่าเราหิว โดยเฉพาะเมื่อมีพลังงานต่ำ แต่เมื่อริ่มกินอาหารแล้วส่วนนี้ก็จะหยุดทำงานอย่างรวดเร็ว ดังนั้นส่วนนี้คือการหาอาหารแต่ไม่ได้เกี่ยวกับปริมาณในการทาน ส่วนที่ (2) นี้ก็ยังคงเกี่ยวโยงกับสมองตรงส่วนด้านข้างของ ไฮพาทาลามัส เป็นส่วนที่ทำงานควบคุมการตอบสนองของร่างกาย ส่วนนี้ยังทำหน้าที่เพิ่มความอยากอาหาร เพราะทำให้รู้สึกเหมือนได้รางวัลอีกด้วยและในส่วนสุดท้ายนี้ (3) จะเกี่ยวกับ calcitonin gene-related peptide (CGRP) เป็นระบบประสาทในสมองส่วน parabrachialnucleus (PBN) ส่วนนี้จะช่วยหยุดการกินเมื่อทำงาน แต่จะไม่ได้ส่งเสริมให้กินเมื่อไม่ได้ทำงาน
สิ่งที่ควรรู้ต่อมา คือ ทั้งสามส่วนนี้ทำงานร่วมด้วยช่วยกันยังไง ?
ส่วนที่ 1 จะเริ่มทำงานเมื่อได้รับสัญญาณฮอร์โมน เมื่อร่างกายเริ่มขาดแคลนพลังงาน ทำให้เราเริ่มหาแหล่งพลังงาน และลดการทำงานทันทีเมื่อได้ พอเมื่อได้รับประทานอาหารแล้วส่วนที่ 2 ก็จะเริ่มทำงานทำให้รู้สึกดีที่ได้กิน เหมือนกับได้รางวัล และสุดท้ายเมื่อเริ่มรับประทานแล้วส่วนที่ 3 จะเริ่มทำงานส่วนนี้จะทำให้เราหยุดการทานอาหาร
แต่ถึงกระนั้นแล้วด้วยสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปโดยเฉพาะในด้านอาหาร ส่งผลกระทบโดยตรงกับสุขภาพของมนุษย์ ทั้งการเพิ่มสิ่งเร้าให้มีความอยากอาหารมากขึ้น และ บ่อยขึ้น แต่ความอยากอาหารชนิดต่าง ๆ นั้นถูกออกแบบมาอย่างเฉพาะเจาะจงกับสารอาหาร ฮอร์โมน และปริมาณพลังงานที่ต้องการและตอนนี้ร่างกายของเรานั้นปรับตัวไม่ทันต่อการพัฒนาของเรา
การที่เรามีอาหารที่ถูกปากมากขึ้น ทั้งตัวเลือก และ ปริมาณ ของอาหาร ทำให้สมองตรงส่วนด้านข้างของ ไฮพาทาลามัส (ส่วนที่ 2) นั้นทำงานมากขึ้น และนำไปสู่การรับประทานที่มากเกินไป
ดังนั้น การที่เราจะลดน้ำหนักนั้นจะก็จะยากขึ้นเพราะเมื่อพลังงานขาดแคลน เราก็มีอาหารรอเราอยู่ในทุก ๆ ที่ เติมสารอาหารในเลือดจึงถูกเติมเต็มอยู่ตลอดจากการทำงานของ (ส่วนที่1) ที่ทำให้อยากอาหาร หากเราไม่สามารถควบคุมตัวเองให้ได้นั้น การลดน้ำหนักก็จะเป็นเรื่องยากขึ้นมาทันที อย่างไรตามการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ ชนิดของเซลล์ ความเชื่อมโยงระหว่างวิถีทางเดินต่าง ๆ ในร่างกาย จะทำให้เราเข้าใจความอยากอาหารมากขึ้นและนำไปสู่การลดปัญหาการทานที่มากหรือน้อยเกินไปได้
ที่มา: https://www.annualreviews.org/doi/abs/10.1146/annurev-physiol-021115-104948