สารบัญวันนี้

ประโยชน์สุดลึกล้ำของ ‘ผักผลไม้’ ทั้ง 5 เฉดสี

ผัก และผลไม้ นับว่าเป็นอาหารที่ทั้งมีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะอุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการ ทั้งยังมีสีสันสดใสน่ารับประทาน ซึ่งหลาย ๆ คนคงจะเคยได้ยินคำแนะนำที่ว่า ‘ควรรับประทานผักผลไม้ให้ครบ 5 สี’ กันอยู่บ่อยครั้งใช่ไหมล่ะ? แน่นอนว่า ด้วยเมนูอาหารที่ไม่ได้หลากหลายมากพอในแต่ละวัน อาจทำให้เรารับประทานผักผลไม้ได้ไม่ครบทั้งหมดทุกประเภท

สีสันสดใส มีประโยชน์อะไรแฝงอยู่?

การที่ผลไม้มีสีสันทั้ง 5 สีนั้น เป็นผลมาจาก ‘สาร’ ต่างชนิดกัน ที่ช่วยป้องกันร่างกายของเราจากอันตรายต่าง ๆ ทั้งจากปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายใน ซึ่งสีสีสดเหล่านี้ ก็ทำหน้าที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • สีแดง : เกิดจากสาร Lycopene (ไลโคปีน) ที่มีประโยชน์ในการช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยบำรุงผิวให้ดูเปล่งปลั่ง รวมไปถึงช่วยลดการเกิดสิว ซึ่งผักผลไม้ที่มีสีแดงนั้น ได้แก่ มะเขือเทศ, หอมแดง, แอปเปิลสีแดง, สตรอว์เบอร์รี, เชอร์รี, ส้มโอสีชมพู, ทับทิม, องุ่นแดง และแตงโม 
  • สีเขียว : เกิดจากสาร Carotenoids (แคโรทีนอยด์) และวิตามินอื่น ๆ มากมาย ที่มีประโยชน์ในการช่วยต้านโรคมะเร็งในระยะแรกเริ่ม ช่วยต่อต้านริ้วรอย ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย  โดยผักผลไม้ที่มีสีเขียวนั้น ได้แก่ กะหล่ำปลีสีเขียว,คะน้า, อะโวคาโด, แตงกวา, ผักโขม, ถั่วลันเตา, แอปเปิลสีเขียว และองุ่นเขียว 
  • สีส้ม : เกิดจากสาร Beta-Carotene (เบตาแคโรทีน) มีประโยชน์ในการช่วยป้องกันจอประสาทตาเสื่อม และช่วยลดไขมันในเลือด โดยผักผลไม้สีส้ม ได้แก่ แครอต, ฟักทอง, ข้าวโพด, มันฝรั่งหวาน, พริกสีเหลือง, ส้ม, เสาวรส, มะม่วง, แคนตาลูป และมะละกอ
  • สีม่วง : เกิดจากสาร Anthocyanins (แอนโทไซยานิน) สามารถช่วยลดอัตราการเกิดโรคหัวใจ ช่วยบำรุงเส้นผมให้เงางาม และช่วยป้องกันมะเร็ง ซึ่งผักผลไม้สีม่วง ได้แก่ มะเขือม่วง, กะหล่ำปลีสีม่วง, มันสีม่วง, เผือก และ ข้าวนิล
  • สีขาว : เกิดจากสาร Flavonoid (ฟลาโวนอยด์) ที่มีประโยชน์ในการช่วยลดการอักเสบ รักษาระดับน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเลือด ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และช่วยลดอาการปวดข้อเข่า ซึ่งเหมาะมาก ๆ กับผู้สูงอายุ ซึ่งตัวอย่างผักผลไม้ที่มีเนื้อสีขาว ได้แก่ ฝรั่ง, แอปเปิล, กล้วย, เงาะ, ลางสาด, ลองกอง, ลิ้นจี่ และ พุทรา เป็นต้น 

พฤติกรรมการรับประทานผัก และผลไม้ของคนไทย  

จากผลสำรวจคนไทยในปี 2562 พบว่า คนที่มีการศึกษาตั้งแต่มัธยม ที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป และเป็นคนโสดนั้น มีโอกาสรับประทานผักผลไม้ไม่เพียงพอเพิ่มขึ้นถึง 1.4 เท่า 

โดยในผู้ชาย จะรับประทานผักน้อยลง 1.32 เท่า นอกจากนี้ผู้ประกอบอาชีพ ‘พนักงานบริษัท’ ส่วนใหญ่ มีโอกาสรับประทานผักผลไม้ไม่เพียงพอ เพิ่มขึ้นถึง 2.52  เท่าเลยทีเดียว 

ผักผลไม้ตามฤดูกาลของไทย  ครบถ้วน 5 สี ปราศจากสารพิษตกค้าง

การรับประทานผักผลไม้ให้ครบทั้ง  5 สี อาจจะฟังดูเหมือนยาก แต่ถ้าเรามีวินัย และความตั้งใจแล้วก็ทำได้แน่นอนค่ะ เพราะเมืองไทยของเรานั้นมีตัวเลือกของผักผลไม้ให้เลือกสรรมากมายทุกฤดูกาล ยิ่งถ้าเป็นผักผลไม้ตามฤดูกาลยิ่งมีราคาถูก ทั้งยังลดความเสี่ยงเรื่องสารเคมีตกค้างได้ด้วย และด้านล่างนี้ คือรูปภาพของตัวอย่างผักผลไม้ตามฤดูกาลของไทย  ที่ทุกคนสามารถหารับประทานกันได้ไม่ยากค่ะ

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แนะนำให้บริโภคผัก และผลไม้วันละ 400 g. โดยควรรับประทานให้มีความหลากหลายในแต่ละวัน เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด 

ดังนั้น การเลือกรับประทานอาหารที่ประกอบไปด้วยผักผลไม้หลากสี จะช่วยเสริมสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุให้กับร่างกายของเราได้ อย่าง ‘น้องหนมปัง’ คีโตเฟรนลี่หอมนุ่มละมุนลิ้นชิ้นนี้ แม้จะไม่มีผัก แต่ก็มีส่วนผสมของผลไม้อยู่ โดยมีส่วนประกอบของผลไม้สีขาวอย่าง ‘เนื้อมะพร้าวออร์แกนิก’ ที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยรักษาระดับน้ำตาล และลดไขมันในเลือด 

นอกจากนี้ น้องหนมปังยังมีธัญพืชอย่าง ‘อัลมอนด์’ ที่มีสาร Flavonoid (ฟลาโวนอยด์) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดเดียวกับในผลไม้สีขาว และ ‘เมล็ดแฟลกซ์’ ที่มีไฟเบอร์ และสารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นอย่าง Lignans (ลิกแนน) มากกว่าในอาหารอื่น ๆ ถึง 800 เท่า

สุดท้ายนี้ อย่าลืมเลือกรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ รวมถึงออกกำลังกายร่วมด้วยในทุก ๆ วัน เพื่อร่างกายที่แข็งแรงของทุกคนกันนะคะ 🙂

ที่มา :

https://www.thairath.co.th/lifestyle/woman/beauty/1310334

https://www.ars.usda.gov/plains-area/gfnd/gfhnrc/docs/news-2013/dark-green-leafy-vegetables/

https://www.thaihealth.or.th/Content/51207-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%20%E0%B8%88%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81.html

https://www.medicalnewstoday.com/articles/263405#benefits-

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23224443

Facebook
Twitter
LinkedIn
Reading with a Baker

Reading with a Baker

เรื่องอื่น ๆ ใด ๆ

Shopping Cart

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า