“เพราะเรามักจะจดจำสิ่งที่ ‘ใช่’ ได้แม่นกว่าสิ่งใดเสมอ”
กลิ่นหอมกรุ่น และรสสัมผัสของอาหารจานโปรดที่ค่อย ๆ แทรกซึมเข้าสู่ลิ้น และเดินทางไปในร่างกายของเรา คงจะเป็นสิ่งที่หลายคนจดจำได้ดี เพราะทุกครั้งที่ได้รับประทานอาหารเหล่านั้น ก็ทำให้รู้สึกราวกับว่าได้บินไปพักผ่อนในสถานที่ที่อยากไปเลยก็ว่าได้
สมองของเราถูกพัฒนามาอย่างยาวนานเพื่อความอยู่รอด โดยเฉพาะกับเรื่อง ‘อาหาร’ สมองสามารถจดจำถึงเวลาที่เรารับประทานอาหารเป็นประจำ, เวลาที่เราต้องการสารอาหารเพื่อให้ร่างกายทำงานได้ปกติ ไปจนถึงการจดจำได้ว่ารสชาติของอาหารนั้น ๆ เป็นเช่นไร เป็นอาหารชนิดใด และต้องทำการย่อยอย่างไร
หากเรารับประทาน ‘น้องหนมปัง’ ซึ่งเป็นขนมปังที่ไม่มีแป้ง ไม่มีน้ำตาลเข้าไป ร่างกายก็จะเข้าใจว่าน้องหนมปัง คือ ‘ขนมปังปกติ’ เพราะน้องหนมปังมีรสชาติ และรสสัมผัสที่คล้ายคลึงกับขนมปังปกติมาก สมองของเราจึงเสมือนถูกหลอก และทำให้รู้สึกว่าเรากำลังรับประทานขนมปังปกติอยู่นั่นเอง
ในช่วงใกล้เวลาของมื้ออาหาร หรือเวลาที่เราเริ่มหิว หากมีกลิ่นหอม ๆ ของอาหาร หรือมีอาหารวางอยู่ตรงหน้าของเรา ‘ตา’ และ ‘จมูก’ จะทำหน้าที่ส่งสัญญาณไปยังสมอง จากนั้นสมองจะเริ่มส่งสัญญาณไปยังอวัยวะอื่น ๆ และสั่งการให้ร่างกายของเราปล่อยน้ำย่อย และเอนไซม์ที่ใช้ย่อยอาหารออกมา
เมื่อเราเริ่มรับประทานอาหาร ปราการด่านแรกอย่าง ‘ฟัน’ จะเริ่มทำการบดเคี้ยวอาหารให้มีขนาดเล็กลง ซึ่งนั่นจะทำให้มีอัตราส่วนพื้นที่ผิวต่อปริมาตรมากขึ้น และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับน้ำย่อย ดังเห็นได้จากภาพตัวอย่าง
จากนั้นอาหารจึงจะเดินทางเข้าสู่กระบวนการย่อยอาหารด้วยเอนไซม์ และน้ำย่อยต่อไป โดยการย่อยอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น ข้าว หรืออาหารจำพวกแป้ง จะใช้กรดอะมิโน ‘อะไมเลส’ (Amylase) ที่อยู่ในน้ำลายของเราในการย่อยแป้งให้เป็น ‘น้ำตาล’
แม้ว่าน้องหนมปังจะไม่มีแป้ง ไม่มีน้ำตาล แต่ด้วยความเคยชินของร่างกาย ทำให้ร่างกายคิดว่า ‘นี่แหละ อาหารจานโปรด จานเดิมของฉัน’ จากนั้นร่างกายก็จะปล่อยน้ำลายที่มีกรดอะไมเลส (Amylase) ออกมามากขึ้นเช่นเดิม
จะเห็นได้ว่า น้องหนมปังนั้นเหมือนกับขนมปังปกติราวกับฝาแฝด แต่ให้สารพัดประโยชน์กับร่างกายมากกว่า มีปริมาณโปรตีน และไฟเบอร์ที่มากกว่า ทั้งยังไม่มีแป้ง ไม่มีน้ำตาล เหมาะกับผู้ลดน้ำหนัก หรือคนที่ต้องการลดแป้ง ลดน้ำตาล แต่ยังอยากลิ้มรสชาติของขนมปังอยู่เป็นอย่างยิ่ง
ที่มา :
https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fpsyt.2019.00525/full
https://my.clevelandclinic.org/health/articles/10681-the-psychology-of-eating
https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S1057740811001136