‘Eating Disorder’ หรือโรคที่ผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่ผิดปกติไปจากเดิม ซึ่งโรคนี้จัดอยู่ในหมวดหมู่ของโรคทางจิตเวชที่สามารถก่อให้เกิดอันตรายกับชีวิตสูงที่สุด มากกว่าโรคทางจิตเวชประเภทอื่น ๆ
“when you have an unhealthy attitude to food,
which can take over your life and make you ill.”
ในประเทศอังกฤษมีการให้คำจำกัดความของ Eating Disorder ว่า ‘อาการของผู้ที่มีความรู้สึกไม่ปกติต่ออาหารทั่วไปที่รับประทาน และทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ก็จะสามารถก่อให้เกิดอันตรายกับร่างกายได้’
โดยในปัจจุบัน มีหลายโรคที่จัดอยู่ในกลุ่มของความผิดปกตินี้ ได้แก่
- โรค Anorexia nervosa หรือ โรคคลั่งผอม ซึ่งผู้ป่วยจะมีความคิดว่าตัวเองอ้วน และกลัวน้ำหนักขึ้นอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้เกิดภาวะเครียด และพยายามไม่รับประทานอาหาร หรือพยายามออกกำลังกายอย่างหนัก
- โรค Bulimia หรือ โรคกลัวอ้วน เป็นโรคที่ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติในการรับประทานอาหาร ซึ่งมีลักษณะเป็นวงจรใหญ่ ๆ เริ่มต้นจากการที่ผู้ป่วยรับประทานอาหารปริมาณมากในช่วงเวลาสั้น ๆ โดยเฉพาะอาหารที่มีปริมาณแคลอรี่สูง แล้วตามด้วยการพยายามกำจัดอาหารเหล่านั้นออกไป โดยการทำให้ตัวเองอาเจียน หรือการใช้ยา รวมไปถึงการพยายามออกกำลังกายอย่างหนัก เพื่อไม่ให้น้ำหนักขึ้น
- โรค Binge Eating Disorder (BED) หรือ โรคกินไม่หยุด โดยผู้ป่วยจะไม่สามารถควบคุมการรับประทานอาหารของตนเองได้ และรับประทานอาหารในปริมาณมาก ๆ แม้จะไม่รู้สึกหิวจนกระทั่งอิ่ม และรู้สึกจุก ทำให้หลังจากรับประทานอาหาร ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกผิด แต่จะไม่พยายามลดน้ำหนัก
- โรค Other specified feeding or eating disorder (OSFED) หรือผู้ป่วยกลุ่มย่อย ที่มีอาการคล้ายกับโรคอื่น ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น แต่มีอาการของโรคใดโรคหนึ่งไม่ครบเกณฑ์นั่นเอง
สิ่งที่น่ากังวลที่สุด คือ แม้ว่าเราจะไม่ได้มีอาการที่ตรงตามเกณฑ์ของโรคต่าง ๆ ข้างต้นทั้งหมด แต่จริง ๆ แล้วเราอาจเป็นผู้ป่วยของโรคนี้โดยไม่รู้ตัวก็ได้
ดังนั้น เราควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมการรับประทานอาหารของตนเองอย่างสม่ำเสมอ และถ้าหากพบว่ามีความผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างเร็วที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อร่างกายในระยะยาว
ที่มา :