สารบัญวันนี้

ล้วงลึกเรื่อง ‘ไขมัน’ ตัวการสร้างห่วงยางหนารอบเอว!

‘ห่วงยางรอบเอว อุ่นกาย แต่ไม่อุ่นใจ’

น้ำหนักตัวที่มากเกินไป สามารถส่งผลให้เกิดโรคอ้วน และไขมันสะสมในร่างกายได้ ซึ่งเจ้าไขมันสะสมในร่างกายก็เป็นอีกสิ่งที่หลายคนกังวลใจไม่น้อย เพราะมันสามารถส่งผลต่อรูปร่างของเราได้โดยตรง โดยเฉพาะไขมันสะสมที่หน้าท้อง หรือที่เรารู้จักกันว่า ‘พุง’ นั่นเอง

‘พุง’  หรือไขมันสะสมบริเวณหน้าท้อง มีอยู่หลากหลายประเภท ทั้งจากไขมันสะสม จากการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ หรือจากฮอร์โมน เป็นต้น ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดถึง ‘พุง’ ที่มาสาเหตุจากไขมันสะสม เพราะก่อนที่เราจะทำการกำจัดเจ้าพุงนี้ได้ ก็ควรจะต้องรู้จักประเภทของไขมัน ที่เป็นตัวการของพุงกันก่อนค่ะ

ประเภทของไขมัน

  1. ไขมันสีน้ำตาล (Brown Fat) ไขมันแบบแรก คือ ไขมันสีน้ำตาล หรือ Brown Fat เป็นไขมันที่ส่งผลดีต่อร่างกาย  เพราะหน้าที่หลักของไขมันประเภทนี้ คือ เผาผลาญพลังงานเพื่อสร้างความร้อน และเมื่อมีร่างกายได้รับการกระตุ้น อย่างการอยู่ในที่ที่อากาศหนาวเย็น ไขมันสีน้ำตาลก็จะสามารถสร้างความร้อนได้มากกว่าเนื้อเยื่ออื่นๆ ในร่างกายได้มากถึง 300 เท่าเลยทีเดียว 

ส่วนในเรื่องการเผาผลาญพลังงาน เจ้าไขมันชนิดนี้สามารถเผาผลาญได้หลายร้อยแคลอรีต่อวัน โดยใช้ปริมาณไขมันเพียง 2 ออนซ์ เท่านั้น  น่าเสียดายตรงที่ผู้ใหญ่จะมีเจ้าไขมันสีน้ำตาลนี้ในปริมาณเพียงเล็กน้อย ไม่เกิน 2 ออนซ์ และโดยส่วนมากมักจะอยู่ที่บริเวณด้านข้างของลำคอ ต่างกับเด็กที่จะมีปริมาณไขมันชนิดนี้มากกว่า

  1. ไขมันสีขาว หรือไขมันปกติ (White Fat) ไขมันแบบที่สอง คือ ไขมันสีขาว หรือ White Fat เป็นไขมันที่มีอยู่ทั่วไปตามร่างกายของเรา ทำหน้าที่เก็บพลังงาน และผลิตฮอร์โมนชนิดที่สามารถทำหน้าที่ช่วยฮอร์โมนประเภทอื่นให้ทำงานได้ดีขึ้น เช่น ฮอร์โมน Adiponectin หรือฮอร์โมนที่ช่วยให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น เป็นต้น  แต่ข้อควรระวังก็คือ เมื่อมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น การผลิตฮอร์โมน Adiponectin ก็จะลดลงหรือหยุดผลิตไปเลย ส่งผลให้อินซูลินทำงานได้ไม่ดีเท่าเดิมนั่นเองค่ะ
  1. ไขมันที่สะสมอยู่ใต้ผิวหนัง (Subcutaneous Fat) ไขมันชนิดนี้ ส่วนมากจะอยู่ที่บริเวณต้นขา ใต้ท้องแขน และพุงของเรานั่นเองค่ะ ซึ่งเราสามารถวัดปริมาณไขมันชนิดนี้โดยใช้เครื่อง Fat Caliper ที่มีหน้าตาตามรูปภาพด้านล่างนี้ได้ค่ะ

โดยปกติแล้ว ไขมันชนิดนี้จะมีปริมาณอยู่ที่ 10% ของไขมันทั้งหมดในร่างกาย ซึ่งเราสามารถใช้ข้อมูลของปริมาณไขมันชนิดนี้มาคำนวณถึงปริมาณไขมันทั้งหมดของร่างกาย และประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดต่อสุขภาพของเราได้เลยล่ะค่ะ

  1. ไขมันรอบอวัยวะ (Visceral Fat) ไขมันประเภทนี้ จัดว่าเป็นไขมันที่อันตรายต่อร่างกายเลยค่ะ เพราะ สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคทางสมอง รวมถึงยังสามารถขัดขวางการทำงานของอินซูลินได้อีกด้วย

หากร่างกายของเรามีไขมันชนิดนี้ในปริมาณมาก ก็จะเป็นสาเหตุให้การเกิดภาวะดื้ออินซูลิน โรคเบาหวานประเภทที่ 2  โรคหัวใจ มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ และโรคอัลไซเมอร์ได้ นอกจากนี้ จากการศึกษายังพบว่าฮอร์โมนที่เกิดจากความเครียด เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ร่างกายสะสมไขมันชนิดนี้เพิ่มขึ้น

  1. ไขมันช่วงท้องส่วนล่าง (Belly Fat) ไขมันชนิดนี้ คือไขมันบริเวณหน้าท้อง หรือพุงของเรานั่นเองค่ะ โดยส่วนมากแล้วจะถูกจัดอยู่ในประเภทไขมันที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะไขมันส่วนนี้ คือ ไขมันรอบอวัยวะ ผสมกับ ไขมันที่สะสมอยู่ใต้ผิวหนัง ซึ่งเป็นไขมันที่อันตรายต่อสุขภาพทั้งคู่

สัดส่วนของไขมันแต่ละชนิด ขึ้นอยู่กับการใช้ชีวิตของแต่ละคน และทางเดียวที่จะทราบได้ก็คือการทำ CT-scan ซึ่งเป็นการตรวจวินิจฉัยโรคที่มีราคาค่อนข้างสูง แต่อย่างไรก็ตาม การที่มีไขมันช่วงท้องล่างในปริมาณมาก ไม่ว่าจะมีมีสัดส่วนของไขมันประเภทใดมากหรือน้อย ก็มักจะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ เพิ่มขึ้นตามมาได้

ลดไขมัน ลดโรค

การลดปริมาณไขมันในร่างกาย จะมีความแตกต่างกันออกไปตามการใช้ชีวิต หรือสภาพร่างกายของแต่ละคน โดยวิธีการที่ง่ายที่สุด คือ ‘การเลือกรับประทานอาหาร’ และ ‘การออกกำลังกาย’ ที่ควรจะต้องทำควบคู่กันไป 

หากต้องการลดไขมัน ลดพุง เพื่อสุขภาพที่ดี ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จำกัดการรับประทานแป้งและไขมัน และพยายามนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้สงบ ไม่เครียด เพียงเท่านี้จุดเริ่มต้นของสุขภาพที่ดี ก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแล้วล่ะค่ะ

อย่าง ‘น้องหนมปัง’ คีโตเฟรนลี่ของเรา ก็เป็นอีกหนึ่งอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ รับประทานง่าย ไม่อ้วน แถมยังอร่อยเต็มคำ รับรองว่าวงการคนรักสุขภาพ เข้าไม่ยาก แต่ตกหลุมรักง่ายแน่นอนค่ะ 🙂

ที่มา :

https://www.diabetes.co.uk/body/visceral-fat.html

https://www.smethailandclub.com/trick-2727-id.html

https://www.quora.com/Which-body-type-generally-has-more-visceral-fat

Hashtag

#Fat #TypesofFat #Belly #BellyFat #Health

Facebook
Twitter
LinkedIn
Reading with a Baker

Reading with a Baker

เรื่องอื่น ๆ ใด ๆ

Shopping Cart

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า