เส้นทางการดำรงชีวิตของทั้งมนุษย์และสัตว์ในแต่ละวัน ล้วนต้องอาศัย ‘พลังงาน’ ในการทำกิจกรรม ไม่ว่าจะนอน เดิน ทำงาน ออกกำลังกาย หรือแม้แต่การนอนนิ่ง ๆ ก็ล้วนต้องใช้พลังงานเป็นตัวขับเคลื่อนทั้งสิ้น
มนุษย์สามารถกักเก็บพลังงานไว้ใช้ได้โดยการเก็บไขมัน ซึ่งหากเป็นในสมัยโบราณแล้ว ผู้ที่สามารถสะสมไขมันได้มากกว่าก็จะเป็นผู้ที่อยู่รอดได้ แต่ในทางตรงกันข้าม หากเป็นปัจจุบัน ผู้ที่สะสมไขมันได้มากที่สุดอาจจะเป็นผู้ที่มีปัญหาสุขภาพมากที่สุดก็เป็นได้
ในช่วงปลายปีศตวรรษที่ 18 ได้มีการบันทึกลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับปัญหาของผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ซึ่งเป็นผลมาจากเทคโนโลยีในปัจจุบันที่พัฒนาไปแบบก้าวกระโดด รวมถึงมีงานศึกษาเกี่ยวกับปริมาณ คุณภาพ และความหลากหลายทางอาหารเพิ่มขึ้นอีกด้วย จนกระทั่งช่วงกลางศตวรรษที่ 19 จนถึง 20 โรคอ้วนกลายเป็นสิ่งที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และมีอันตรายจนอาจส่งผลถึงการเสียชีวิตได้
ตัวชี้วัดของการเป็นผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน
โดยทั่วไปแล้วจะใช้ค่า BMI หรือค่าดัชนีมวลกาย เป็นตัวชี้วัดการมีน้ำหนักเกินเกณฑ์หรือเป็นโรคอ้วน ซึ่งจะคำนวณจากการนำน้ำหนักที่มีหน่วยเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงหน่วยเป็นเมตรยกกำลังสอง และเทียบกับตาราง BMI ว่าน้ำหนักของตนเองอยู่ในเกณฑ์ใด
แต่การใช้ตาราง BMI ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง เช่น อายุ ปริมาณกล้ามเนื้อในแต่ละบุคคล คนเอเชียและคนยุโรปที่มีความแตกต่างกัน หรือแม้กระทั่งผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ก็ไม่สามารถใช้วัดได้ เป็นต้น ดังนั้น ข้อสำคัญที่ควรคำนึงถึงในการวัดไขมันในร่างกาย คือช่วงเอว และปริมาณของกล้ามเนื้อ
จุดเริ่มต้นของโรคอ้วน
เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าสู่ร่างกายจนกระทั่งเผาผลาญเป็นพลังงานแล้ว เมื่อเราใช้พลังงานเหล่านั้นไม่หมด ร่างกายจะกักเก็บไว้ในรูปแบบของไขมัน ซึ่งในปัจจุบันเราจะเห็นอาหารหลากหลายชนิดและรสชาติ ที่มีปริมาณน้อยแต่ให้พลังงานสูง รวมถึงอาหารสุขภาพในท้องตลาดที่มีราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ปัจจัยเหล่านี้เป็นสาเหตุหลักของการเป็นโรคอ้วน
นอกจากนี้ โรคอ้วนยังเป็นโรคที่ติดต่อได้ทางพันธุกรรมอีกด้วย มีงานวิจัยที่พบว่าเด็กมักจะมีรูปร่างที่คล้ายคลึงกับพ่อแม่ของพวกเขา รวมไปถึงมีงานวิจัยที่พบว่าโรคอ้วนยังมีความเกี่ยวข้องกับปริมาณและชนิดของแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหารของเราโดยตรง
‘โรคอ้วน’ ปัญหาใหญ่ระดับโลก
โรคอ้วนเป็นจุดเริ่มต้นและสาเหตุใหญ่ของการเกิดโรคและปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และมะเร็ง ซึ่งโรคนี้สามารถเกิดได้กับคนทุกกลุ่ม ทุกประเทศ
สิ่งที่น่าสนใจคือ ภายใน 20 ปี เกิดโรคอ้วนในเด็กเพิ่มขึ้นถึง 60% ทั่วโลก และการรักษามีแนวโน้มที่จะยากขึ้นเรื่อย ๆ ตามความรุนแรง เนื่องจากระบบในร่างกาย ทั้งฮอร์โมนและการเผาผลาญ จะเริ่มทำงานด้อยประสิทธิภาพ และการงดอาหารก็จะทำให้อาการแย่ลงยิ่งขึ้น
เมื่อต้องเผชิญหน้ากับโรคอ้วนแล้ว ระดับการเผาผลาญพลังงานก็จะน้อยลง แม้ว่าจะมีน้ำหนักตัวที่ลดลงมาบ้างก็ไม่สามารถช่วยให้เผาผลาญไขมันได้มากขึ้น อีกทั้งการส่งข้อมูลไปยังสมองจะได้รับความเสียใจ ทำให้การรับรู้ปริมาณของอาหารที่กินเข้าไป และการสะสมพลังงานนั้นทำได้ยากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตาม มีงานศึกษาและวิจัยที่พบว่า เมื่อเปลี่ยนวิธีการกินและการใช้ชีวิต จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงของโรคที่อาจจะเกิดจากโรคอ้วนได้
‘สุขภาพที่ดีมีได้ไม่ยาก จากสิ่งที่คุณเลือกกินและเลือกทำในแต่ละวัน’
ที่มา : https://ed.ted.com/lessons/what-is-obesity-mia-nacamulli