หากเราพูดถึง ‘โปรตีน’ โดยทั่วไปแล้วทุกคนคงพูดถึงหน้าที่ของมันว่าสำหรับใช้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย แต่แท้จริงแล้วโปรตีนยังมีประโยชน์มากกว่านั้นซึ่งโปรตีน 1 g. นั้น สามารถให้พลังงานถึง 4 kcal เท่ากับคาร์โบไฮเดรตเลยทีเดียว
ก่อนอื่นโปรตีนนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท โดยแบ่งได้จาก BV (Biological Value) หรือคุณค่าทางชีวภาพของโปรตีน ดังนี้
- Complete protein/โปรตีนสมบูรณ์ (ค่า BV 70 ขึ้นไป) นั้นจะมีกรดอะมิโนจำเป็นครบทั้ง 10 ชนิดและมีปริมาณมาก และจะมาจากเนื้อสัตว์หรือ ทุกชนิด แต่ก็มีบ้างในพืช บางชนิด เช่น คีนัว บัคหวีด เมล็ดป่าน และถั่วเหลือง
- Incomplete Protein/โปรตีนไม่สมบูรณ์ มาจากพืชนั้นมีกรดอะมิโนจำเป็นในปริมาณน้อยและไม่เพียงพอ ส่วนที่เกินมาก็จะถูกขับออกหรือเปลี่ยนเป็น น้ำตาลและ ไขมันต่อไป
หากจะเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้นนั้นโปรตีนสมบูรณ์เหมือนกับจิ๊กซอว์ที่ต่อเสร็จแล้วสามารถนำไปใช้ได้ทันที แต่โปรตีนที่ไม่สมบูรณ์นั้นจะเหมือนจิ๊กซอว์ที่รอตัวอื่น ๆ มาต่อให้สมบูรณ์เสียก่อนจึงจะสามารถนำไปใช้ได้
ตารางต่อไปนี้ คือ ตัวอย่างของอาหารที่มีโปรตีนไม่สมบูรณ์และอาหารที่ควรกินเพื่อให้กลายเป็นโปรตีนที่สมบูรณ์
ซึ่งข้อมูลนี้จะสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะกับกลุ่มคนที่กินอาหารมัสวิรัต เนื่องจากกรดอมิโนต่าง ๆ นั้นใช้ในการสื่อสารระหว่างเซลล์ต่าง ๆ เช่น ฮอร์โมน ใช้ในการผลิตเอนไซม์รวมไปถึงการผลิตเซลล์ใหม่ ๆ อีกด้วย โดยกรดอมิโนนั้นมีอยู่กว่า 20 ชนิด และถึงแม้ว่ากรดอมิโนบางชนิดร่างกายจะสามารถสร้างขึ้นมาเองได้ แต่บางชนิดร่างกายเราไม่สามารถผลิตมันขึ้นมาได้ จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมการเลือกรับประทานโปรตีนให้มีกรดอมิโนจำเป็นนั้นจึงสำคัญ
ที่มา:
https://www.piedmont.org/living-better/what-is-a-complete-protein https://nutrition.org/protein-complementation/