สารบัญวันนี้

ความสัมพันธ์ระหว่าง ‘การลดน้ำหนัก’ และ ‘โปรตีน’

เรื่องราวที่น่ายินดีและปลื้มปีติที่สุดของผู้ที่กำลังลดน้ำหนัก คงจะเป็นสิ่งใดไปไม่ได้นอกจาก ‘ตัวเลขบนเครื่องชั่งที่ลดลง’ เพราะนั่นอาจจะทำให้หลายคนรู้สึกว่าได้ทำสำเร็จมาอีกหนึ่งขั้นแล้ว! แต่บางทีเราอาจจะลืมไปว่า เจ้าตัวเลขบนเครื่องชั่งที่ลดลงนั้นเป็นไขมัน หรือกล้ามเนื้อที่เราสูญเสียไปกันแน่นะ?

จริง ๆ แล้วเราทุกคนต้องการลดน้ำหนักเพื่อให้ตนเองมีรูปร่าง และสุขภาพที่ดี ซึ่งการจะมีรูปร่างที่ดีนั้น ก็ต้องเริ่มจากการกำจัด ‘ไขมันส่วนเกิน’ ออกไปให้ไกลจากเราเสียก่อน ซึ่งสิ่งสำคัญที่ทำให้เราสามารถเผาผลาญพลังงานได้ดีก็คือ ‘กล้ามเนื้อ’ นั่นเอง

‘กล้ามเนื้อ’ สำคัญไฉน?

กล้ามเนื้อ เป็นส่วนที่ช่วยให้ร่างกายของเราเผาผลาญพลังงานได้ดียิ่งขึ้น หากร่างกายของเรามีปริมาณกล้ามเนื้อมาก ก็จะมี ‘Metabolic Rate’ หรือ อัตราการเผาผลาญในร่างกายสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น หากน้ำหนักที่ลดลงของเรา เป็นน้ำหนักของกล้ามเนื้อ Metabolic Rate ของเราก็จะต่ำลงตาม ทำให้เผาผลาญพลังงานได้น้อยลง

การลดลง หรือการสูญเสียกล้ามเนื้อมีสาเหตุที่หลากหลาย ซึ่งหลัก ๆ จะอยู่ที่การได้รับพลังงานที่ไม่มากพอ และการรับประทานโปรตีนที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากโปรตีนนั้นเป็นอาหารเพียงชนิดเดียวที่มีกลุ่มอะมิโนจำเป็น ในการสร้างฮอร์โมน กรดเอนไซม์ และเป็นส่วนสำคัญในการผลิตส่วนประกอบของเซลล์ต่าง ๆ 

เมื่อการลดน้ำหนักที่ผิด อาจทำให้กล้ามเนื้อหายไป

หากเรารับประทานอาหารเป็นปกติ ก็จะได้รับพลังงานจากโปรตีนอย่างน้อย 10% ของพลังงานทั้งหมด แต่เนื่องด้วยโปรตีนนั้นมีอยู่หลายชนิด และทำหน้าที่ต่างกันออกไป เราจึงควรรับประทานโปรตีนจากหลาย ๆ แหล่งที่มา ทั้งจากผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ และพืชด้วย เพื่อให้ได้รับสารอาหาร และโปรตีนที่ครบถ้วนหลากหลาย

โดยทั่วไปแล้ว เมื่อเราเข้าสู่ช่วงลดน้ำหนัก ก็จะพยายามรับประทานอาหารให้น้อยลง เพราะคิดว่านั่นจะทำให้น้ำหนักลดลงได้รวดเร็ว ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นความคิดที่ผิด เพราะหากเรารับประทานอาหารน้อยลง และไม่หลากหลาย จำทำให้ร่างกายขาดสารอาหารต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ รวมถึง ‘โปรตีน’ ด้วย ดังนั้น การเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และควบคุมปริมาณอาหารให้ไม่เกินความต้องการของร่างกาย จึงเป็นเรื่องที่ดีกว่า

สัญญาณของการ ‘ขาดโปรตีน’

อาการขาดโปรตีนเป็นอาการที่พบได้กับคนทั่วไป และนักกีฬาที่ต้องการใช้โปรตีนมากกว่าปกติ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะไม่ได้มีความร้ายแรงมากนัก 

ร่างกายของเราสามารถแสดงอาการที่บ่งบอกถึงการขาดโปรตีนได้ เช่น อาการอ่อนแรง, หิวบ่อยครั้ง, แผลหายช้า, ป่วยง่าย หรือหายจากอาการป่วยช้า, มือและเท้าบวม, อารมณ์แปรปรวน รวมไปถึงมีปัญหาเกี่ยวกับเส้นผม เล็บ และผิวหนัง

อย่างไรก็ตาม การรับประทานโปรตีนมากเกินไป อาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ในช่วงแรก เพราะพลังงานส่วนเกินจะถูกจัดเก็บไว้ในรูปของ ‘ไขมัน’ ทั้งยังอาจส่งผลต่อระบบขับถ่าย และเกิดปัญหาเกี่ยวกับไตได้ เนื่องจากไตนั้นจะทำหน้าที่ในการกำจัดไนโตรเจน ที่เป็นส่วนประกอบของโปรตีน หากเรารับประทานโปรตีนมากไป ไตก็จะทำงานหนักขึ้น

นอกจากนี้ การรับประทานโปรตีนจำพวกเนื้อแดง และอาหารแปรรูปในปริมาณมาก จะทำให้ร่างกายมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งมากขึ้น เพราะโปรตีนเหล่านั้น ไม่ได้มีความสะอาด และมีคุณภาพเท่าโปรตีนทั่วไปจากธรรมชาติ

จะเห็นได้ว่า การรับประทานโปรตีนมีทั้งข้อดี และข้อเสีย แต่หลัก ๆ แล้วอยู่ที่ ‘การเลือกสรร’ และ ‘การควบคุม’ ของตัวเราเองทั้งนั้น เพราะฉะนั้นควรจะรับประทานโปรตีนให้อยู่ในปริมาณที่พอดี เลือกโปรตีนที่มีคุณภาพ และหลากหลาย รวมถึงรับประทานอาหารให้ครบถ้วนทุกหมู่ และไม่ลืมที่จะออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น

อย่าง ‘น้องหนมปัง’ ขนมปังคีโตเฟรนลี่ ไม่มีแป้ง ไม่มีน้ำตาล แถมยังโปรตีนสูงชิ้นนี้ ก็เป็นตัวช่วยในการเติมโปรตีนให้กับร่างกายได้อย่างดี แถมยังทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่มได้นาน และไม่ทำให้น้ำหนักขึ้นอีกด้วย รับรองว่าชาวรักสุขภาพต้องตกหลุมรักแน่นอน 🙂

ที่มา : 

https://www.webmd.com/diet/ss/slideshow-not-enough-protein-signs

https://www.healthline.com/nutrition/protein-deficiency-symptoms

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/25123207

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/25376888

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20882714

https://www.healthline.com/health/too-much-protein

Facebook
Twitter
LinkedIn
Reading with a Baker

Reading with a Baker

เรื่องอื่น ๆ ใด ๆ

Shopping Cart

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า