Glycemic Index (GI) หรือ ดัชนีน้ำตาล คือ ค่าวัดระดับน้ำตาลในเลือดในอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตประมาณ 50 กรัม เทียบกับน้ำตาลกลูโคสหรือขนมปังขาวที่มีค่ามาตรฐานคือ 100 จึงสามารถบอกได้ว่าคาร์บประเภทนั้น ๆ กระทบกับระดับน้ำตาลมากในเลือดมากน้อยเพียงใด
การดูค่าดัชนีน้ำตาลนั้นเป็นที่นิยมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนที่เป็นโรคเบาหวาน เพราะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษและคาร์โบไฮเดรตประเภทต่าง ๆ นั้นถูกดูดซึมได้ในเวลาที่ไม่เท่ากันโดยสามารถแบ่งความเร็วในการดูดซึมออกได้เป็น 3 ระดับ คือ
ดัชนีน้ำตาลต่ำ คือ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 55
ดัชนีน้ำตาลปานกลาง คือ 56 – 75
ดัชนีน้ำตาลสูง คือ มากกว่า 75
ในอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาล สูง จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะคาร์โบไฮเดรตจากอาหารชนิดนั้น ๆ ดูดซึมได้เร็วกว่า ส่งผลให้ร่างกายเปลี่ยนน้ำตาลไปเป็นไขมันสะสมตามร่างกาย และด้วยการเปลี่ยนพลังงานเป็นไขมันนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น ทำให้เรารู้สึกหิวเร็วขึ้นด้วยซึ่งแตกต่างกับอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ
แต่ถึงกระนั้นอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำก็ไม่ได้แปลว่าจะดีต่อสุขภาพเสมอไป เช่น ช็อกโกแลต เพราะมีส่วนผสมของไขมันที่มากทำให้การดูดซึมน้ำตาลนั้นช้าลง การเลือกทานอาหารนั้นก็เป็นส่วนสำคัญโดยเฉพาะกับคนที่เป็นโรคเบาหวาน ควรเลือกทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง มีแร่ธาตุครบ ลดอาหารที่มีน้ำตาลสูง หรือไขมันอิ่มตัว ส่วนอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำแต่มีแคลอรี่สูง อย่างช็อคโกแล็ต
นอกจากนี้ค่า GI ก็เปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับ วิธีการปรุงสุกของอาหาร ความดิบหรือสุก ของผักและผลไม้รวมถึงไฟเบอร์ในอาหาร (ช่วยลดความเร็วในการดูดซึมของอาหาร) ไขมันในอาหาร และ โปรตีนในอาหาร ทำให้อาหารมีค่าดัชนีน้ำตาลที่ต่ำลง แต่อย่างไรก็ตามปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ได้รับนั้นส่งผลต่อน้ำตาลในเลือดมากกว่าค่าดัชนีน้ำตาลเสียอีก
แหล่งอ้างอิงข้อมูล : https://www.diabetes.org.uk/guide-to-diabetes/enjoy-food/carbohydrates-and-diabetes/glycaemic-index-and-diabetes
แหล่งอ้างอิงข้อมูล : https://www.thaiotsukanutrition.club/products/pay-attention-to-your-glycemic-index/