เรื่องราวของไขมัน มีความลึกซึ้งและน่าทึ่งกว่าที่คิด เพราะส่วนใหญ่แล้ว หลายคนมักจะคิดว่าไขมันก็คือไขมัน เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานกับร่างกาย แต่ทำให้อ้วนเมื่อรับประทานมากเกินไป ซึ่งจริง ๆ แล้ว ไขมันมีอยู่หลายประเภท และถ้าหากเลือกรับประทานได้ถูกต้อง เราก็จะได้รับประโยชน์จากเจ้าไขมันแบบเหลือล้นเลยทีเดียว
MCTs ไขมันสารพัดประโยชน์
ไขมันสายโมเลกุลปานกลาง อย่าง MCTs (Medium Chain Triglycerides) เป็นไขมันอีกประเภท ที่สามารถย่อยได้ง่าย ให้พลังงานเพียง 8.3 Kcal/g. และช่วยในการลดน้ำหนัก เพราะเจ้า MCTs จะช่วยในการหลั่งฮอร์โมนเลปตินที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณจากเซลล์ไขมันไปยังสมอง เพื่อลดความอยากอาหาร และเปปไทด์ YY ที่จะหลั่งออกมาเมื่อร่างกายได้รับไขมัน มีฤทธิ์ในการลดความอยากอาหารของร่างกาย ซึ่งจะทำให้เรารับประทานได้น้อยลง
นอกจากนี้ MCTs ยังมีประโยชน์สำหรับนักกีฬาอีกด้วย เพราะจากงานวิจัยพบว่า ผู้ที่ได้รับ MCTs ก่อนการออกกำลังกาย จะลดการก่อตัวของกรดแล็กเตต ที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย เป็นผลให้เราสามารถออกกำลังกายได้ง่ายและยาวนานขึ้น
อีกหนึ่งงานวิจัยที่น่าสนใจได้กล่าวว่า MCTs ช่วยควบคุมอาการของโรคอัลไซเมอร์ เพราะหลังจากการรับประทาน MCTs ไปแล้ว จะทำให้การรับรู้ของสมองนั้นดีขึ้นได้
เจาะลึกไปถึงโมเลกุลของ MCTs
จากชื่อเต็มของ MCTs หลายคนอาจจะคุ้นหูกับชื่อ ‘Triglycerides’ เพราะไตรกลีเซอไรด์เป็นไขมันที่อยู่ในรูปตัว E ซึ่งประกอบไปด้วยกรดไขมัน (Fatty acids) 3 โมเลกุล รวมตัวกับ Glycerol 1 โมเลกุล ดังที่เห็นได้จากในรูปด้านล่างนั่นเอง
เมื่อสังเกตจากรูปตัวอย่างแล้ว ที่เราต้องทำความรู้จักจักเพิ่มคือ Medium chain หมายถึง ความยาวของแกนกลาง หรือ Carbon จะเห็นได้จากในรูปว่า Carbon คือ วงกลมสีแดงที่เรียงกันอยู่เป็นแกนกลางนั่นเอง โดยเราจะสังเกตได้ว่าน้ำตาล MCTs จะมีกรดไขมันที่มีความยาวของ Carbon ตั้งแต่ 6-12 ซึ่งส่วนใหญ่นั้นจะเป็นจำนวนเลขคู่ และจำนวน Carbon ก็ส่งผลต่อความแตกต่างของกรดไขมันนั้น ๆ ด้วยนะ
ความแตกต่างของจำนวน Carbon
C6 : มีรสชาติและกลิ่นที่แปลก หากว่าสกัดออกมาได้ไม่หมด น้ำมัน MCTs ก็จะมีรสชาติที่ต่างออกไป
C8 : เป็น MCTs ที่ถูกใช้โดยสมองได้เร็วที่สุด และช่วยต่อต้านการติดเชื้อโดยเฉพาะกับอวัยวะภายในได้อีกด้วย
C10 : มีลักษณะคลายคลึงกันกับ C8 แต่จำเป็นต้องใช้เวลา ในการเปลี่ยนเป็นพลังงานนานกว่า
C12 : ช่วยลดน้ำหนักได้ เนื่องจากให้พลังงานน้อยกว่าไขมันหลาย ๆ ชนิด เหมาะแก่การทำอาหารประเภทผัด
อย่างไรก็ตาม ควรจะต้องศึกษาเรื่องของผลดีและผลเสียของ MCTs เพิ่มเติม ซึ่งสามารถปักหมุด และคอยติดตามกันได้เลยค่ะ เพราะพวกเราจะอาสารวบรวมข้อมูลมาบอกเล่าให้ทุกคนฟังกัน เพื่อความปลอดภัยและความเหมาะสมในการนำไปใช้ของทุกคนค่ะ 🙂
ที่มา :
https://studyrocket.co.uk/revision/a-level-biology-a-ocr/foundations-in-biology/inorganic-ions
https://www.dropanfbomb.com/blogs/articles-resources/mct-oil
https://charliefoundation.org/mct-oil-diet/
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4192077/
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12975635
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12634436
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/19436137
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20367215