สารบัญวันนี้

รู้จัก ‘กล้ามเนื้อ’ ในร่างกายมนุษย์

ร่างกายมนุษย์ประกอบไปด้วยระบบการทำงาน และอวัยวะต่าง ๆ ที่น่าทึ่ง หนึ่งในนั้นก็คือ ‘กล้ามเนื้อ’ ส่วนประกอบที่ช่วยให้เราเคลื่อนไหวร่างกาย, ออกกำลังกาย และทำกิจกรรมได้ ผ่านการยืดและหดนั่นเองค่ะ

กล้ามเนื้อในร่างกายของเรา มีจำนวนมากกว่า 600 มัด และมีน้ำหนักประมาณ 1/3 ถึง 1/2 ของน้ำหนักตัวเรา โดยทำงานร่วมกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) เพื่อช่วยในการขยับร่างกายในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการยึดตัว การพยุงร่างกาย และการเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งกล้ามเนื้อเหล่านี้สามารถหดหายไป และเติบโตขึ้นมากกว่าเดิมได้ตามการใช้งานของเรา

การทำงานของกล้ามเนื้อ

การทำงานของกล้ามเนื้อจะร่วมมือ ร่วมใจกับระบบต่าง ๆ หลายระบบ เช่น เนื้อเยื่อเกี่ยวพันระบบประสาทและสมองของร่างกาย และการทำงานของกระดูก เป็นต้น 

ยกตัวอย่างเวลาที่เราเปิดประตูห้อง สมองจะเริ่มส่งสัญญาณไปยังเซลล์ประสาท และเริ่มทำการสั่งการไปยังเซลล์ประสาทที่อยู่ในกล้ามเนื้อแขน เพื่อให้กล้ามเนื้อแขนหดและคลายตัวได้ โดยในขณะเดียวกันก็จะมีการทำงานของกระดูกในแขนร่วมด้วย

แต่ในบางครั้ง เมื่อประตูมีขนาดใหญ่ หรือมีน้ำหนักมาก เราจึงจำเป็นต้องใช้แรงมากขึ้น และบางครั้งอาจจะต้องใช้อวัยวะอื่นในการช่วยออกแรง ซึ่งเมื่อมีอุปสรรคเช่นนี้เกิดขึ้น การทำงานของกล้ามเนื้อจะเริ่มที่สมองทำการแผ่ขยายสัญญาณ และส่งสัญญาณ เพื่อสั่งเซลล์ในจำนวนที่มากขึ้น จะเห็นได้จากการที่เราอาจจะใช้แขนทั้งสองข้าง รวมถึงขาในการช่วยออกแรงไปพร้อม ๆ กัน เมื่อวัตถุมีน้ำหนักมากนั่นเอง

การสูญเสียกล้ามเนื้อ 

กิจวัตรประจำวันที่เราทำกัน ไม่ได้ต้องการใช้แรงหรือใช้งานกล้ามเนื้อมากนัก ทำให้ไม่สามารถสร้างกล้ามเนื้อใหม่ได้ เมื่อเราไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อเป็นประจำ จะทำให้กล้ามเนื้อหดเล็กลง เรียกว่า ‘การฝ่อของกล้ามเนื้อ’ (Muscular Atrophy) 

การสร้างกล้ามเนื้อ

เมื่อระบบประสาทนำกล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ มาใช้ร่วมกันแล้ว เซลล์กล้ามเนื้อจะเกิดจากฉีกขาดเล็กน้อย ทำให้เส้นใยกล้ามเนื้อจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับเซลล์ โดยร่างกายจะปล่อยโมเลกุลการอักเสบที่เรียกว่า ‘ไซโตไคน์’ (Cytokine) ที่จะไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้นกันออกมา เพื่อซ่อมแซมอาการบาดเจ็บของเซลล์กล้ามเนื้อ

ยิ่งเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อได้รับความเสียหายมากเท่าไหร่ ร่างกายก็จะยิ่งซ่อมแซมตัวเองมากเท่านั้น ผลที่ตามมา คือ กล้ามเนื้อจะขยายใหญ่ขึ้น และแข็งแกร่งขึ้น เพื่อรองรับความต้องการในการใช้กล้ามเนื้อของเราที่มากขึ้นนั่นเอง

เราจึงจะเห็นว่าผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ จะมีมวลกล้ามเนื้อในปริมาณที่มากขึ้น และมีความแข็งแรงมากขึ้น  เพราะเมื่อเราใช้งานกล้ามเนื้อ หรือยืดและหดกล้ามเนื้อ จะเกิด ‘การหดตัวแบบเอกเซนตริก (Eccentric Contraction) ซึ่งเป็นสภาวะที่ดีต่อการเกิดใหม่ของกล้ามเนื้อ

อย่างไรก็ตาม การเติบโตของกล้ามเนื้อต้องอาศัยปัจจัยอื่นร่วมด้วย ทั้งพันธุกรรม เพศ อายุ สารอาหาร ฮอร์โมน การพักผ่อน และที่สำคัญที่สุดคือ ‘โปรตีนในอาหาร’ ที่ช่วยรักษากล้ามเนื้อ และช่วยให้ร่างกายผลิตกรดอะมิโน

การรับประทานโปรตีนที่เหมาะสม ควบคู่กับฮอร์โมนที่มีอยู่ในร่างกายตามธรรมชาติ เช่น โกรทแฟกเตอร์ (Growth Factor) และเทสโทสเตอโรน (Testosterone) จะช่วยให้ร่างกายอยู่ในสถานะที่พร้อมให้เนื้อเยื่อได้รับการซ่อมแซม และเติบโต ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะเกิดขึ้นขณะที่เรานอนหลับ

นอกจากนี้ในเรื่องของพันธุกรรม ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ เพราะบางอาจอาจจะมีปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันต่อความเสียหายของกล้ามเนื้อที่รุนแรงกว่า จึงสามารถซ่อมแซม และสร้างกล้ามเนื้อได้ดีกว่านั่นเอง

สุขภาพที่ดี สร้างได้ด้วยตัวคุณเอง การรับประทานอาหาร และหมั่นออกกำลังกายเพื่อสุขภาพจึงเป็นเรื่องที่เราต้องใส่ใจ อย่างการเลือกรับประทาน ‘น้องหนมปัง’ ที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ และโปรตีน ก็จะช่วยให้กล้ามเนื้อของเราได้รับสารอาหารที่ดีอย่างครบถ้วน ที่สำคัญ รับประทานน้อย แต่อิ่มนาน ไม่ทำให้อ้วนแน่นอนค่ะ  🙂

ที่มา : 

Facebook
Twitter
LinkedIn
Reading with a Baker

Reading with a Baker

เรื่องอื่น ๆ ใด ๆ

Shopping Cart

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า